หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

วิทยาศาสตร์มีประโยชน์กับบ้านอย่างไร


วิทยาศาสตร์มีประโยชน์กับบ้านอย่างไร

เมื่อคำว่าประโยชน์ใช้มนุษย์เป็นที่ตั้งแล้ว สิ่งที่เรามองค่าที่ก่อให้เป็นบวก + ในเชิงวิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นผลบวกในทางอ้อม หรือการประยุกต์ ดังที่ครูแก่เล่าได้ครอบคลุมมาก
ตอบเป็นปรัชญา คือ วิทยาศาสตร์เป็นการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์นั้นเอง เช่น กลุ่มนักวิจัยลงทุนด้วยการสร้างห้องจำลองการเกิดการระเบิดของอนุกภาคของศูนย์วิจัยเซิร์น มากกว่าเงินพัฒนาประเทศไทยอีก ประโยชน์คืออะไร ถ้าตอบต่อบ้าน ต่อโรงเรียนและสถานต่าง ๆ ก็นักวิจัยนั้นคงพูดไม่ออก แต่ถ้าตอบเพื่อทราบสัมผัส รู้ เข้าใจ ใช้ และตัดสินใจในอนาคตนั้น มันเกี่ยวโยงได้ ความรู้ความสามารถวิทยาศาสตร์ปกป้องโลก จากการทำนายล้างโลกได้ คำทำนายอาศัยประสบการณ์สัมผัสแล้วตัดสินใจ แต่กระบวนการวิทยาศาสตร์มีความเป็นระบบไม่ลัดขั้นตอน ใช้ระยะเวลาที่มากแต่มั่นคง
การมีชีวิตอยู่ของคนที่พึ่งสิ่งที่เกิดจากความเข้าใจ และสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ออกมานั้น เป็นผลจากการทราบแค่ข้อเล็ก ๆ ของวิทยาศาสตร์ที่มาประดิษฐ์ประดอยต่อกัน คนที่สร้างทฤษฎีพลังงานอาจจะสร้างพลังงานสู้คนที่เข้าใจเรื่องพลังงานไม่ได้ ก็มี ด้วยปัจจัยหลาย ๆ ประการ มนุษญ์จึงจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยความรู้ใร้ขีดจำกัดของการปิดบัง
วิทยาศาสตร์จึงเป็นตรรกะ ง่ายที่สุดที่ทำให้คนแต่ละภาษาเข้าใจตรงกันง่ายที่สุดเช่นกัน
ประโยชน์ก็เพื่อการปรับตัวไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สิ่งต่าง ๆ บนโลกใบเดียวกันล้านจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดเช่นเดียวกัน
มนุษย์พยามที่จะเรียนรู้ได้ว่าการมีชีวิตรอดในสภาวะที่มีเชื้อโรคที่หลากหลายชนิดมากกว่าครั้นหมื่นหรือสองหมื่นปีมานั้น ด้วยกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดทักษะทางวิทยาศาสตร์มีลำดับที่แน่นนอน ถึงแม้นจะมีข้อจำกัดอยู่บ้างแต่ข้อจำกัดเหล่าน้นก็ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์นั้นเอง
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์จึงเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ตามมานั้นเอง
วิทยาศาสตร์มีประโชน์ ต่อบ้าน โรงเรียน และสถานที่ต่างๆ ดังนี้

วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้
1. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
2. วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
3. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
4. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
5. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
6. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
7. วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต

กฎการแพร่ของแก๊สของเกรแฮม

กฎการแพร่ของแก๊สของเกรแฮม (Grahan’s Law of effusion)

        โทรมัส เกรแฮม (Thomas Graham) นักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อต ได้ทำการทดลองเปรียบเทียบอัตราการแพร่ของแก๊สชนิดต่างๆ พบว่าอัตราการแพร่ของแก๊สขึ้นอยู่กับมวลโมเลกุลหรือความหนาแน่นของแก๊ส คือ แก๊สที่มีมวลโมเลกุลน้อยหรือมีความหนาแน่นน้อยจะแพร่ได้เร็วกว่าแก๊สที่มีโมเลกุลมากหรือมีความหนาแน่น เช่น แก๊สH2 (มวลโมเลกุลเท่ากับ 2 ) แพร่ได้เร็วกว่าแก๊สCO2 (มวลโมเลกุลเท่ากับ 44 ) เ ป็นต้น ต่อมาเกรแฮมได้สรุปเป็นกฎ มีใจความว่า
“ เมื่ออุณหภูมิและความดันคงที่ อัตราการแพร่ของแก๊สใด ๆ จะแปรผกผันกับรากที่สองของมวลโมเลกุลหรือความหนาแน่นของแก๊ส” กฎการแพร่ของแก๊สของเกรแฮมเขียนเป็นสูตรความสัมพันธ์ได้ดังนี้

ถ้าเปรียบเทียบอัตราการแพร่ระหว่างแก๊ส 2 ชนิด และกำหนดให้
R1 = อัตราการแพร่ของแก๊ส ชนิดที่ 1
R2 = อัตราการแพร่ของแก๊ส ชนิดที่ 2
M1 = มวลโมเลกุลของแก๊ส ชนิดที่ 1
M2 = มวลโมเลกุลของแก๊ส ชนิดที่ 2
ตามกฎอัตราการแพร่ของเกรแฮม จะได้
เนื่องจาก k1 = k2 เพราะว่าทำการทดลองที่อุณหภูมิและความดันเดียวกัน
ดังนั้น R1?-/M1 = R2 -/M2

เนื่องจากมวลโมเลกุลของแก๊สเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความหนาแน่นของแก๊สที่อุณหภูมิและความดันคงที่
ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการแพร่ของแก๊สกับมวลโมเลกุลของแก๊ส อาจทดลองได้ง่ายๆ ดังนี้คือ ใช้ไม้ที่พันสำลี 2 อัน อันหนึ่งชุบสารละลายแอมโมเนีย(NH3) เข้มข้น อีกอันหนึ่งชุบสารละลายกรดไฮโดรคลอริก(HCl)เข้มข้น แล้วนำไปอุดที่ปากหลอดแก้วข้างละอันดังรูป

จากรูปโมเลกุลของแก๊สแอมโมเนีย(NH3 ) และโมเลกุลของแก๊สHCl จะแพร่เข้าหากันแล้วทำปฏิกิริยากันได้ของแข็งสีขาว คือ แอมโมเนียคลอไรด์(NH4Cl) ดังสมการ
NH3 (g) + HCl(g) NH4Cl(s)
แต่เนื่องจากแก๊สNH3 มีโมเลกุลน้อยกว่าแก๊สHCl ( NH3 มีมวลโมเลกุล 17 HCl มีมวลโมเลกุล 36.5 ) แก๊สNH3 จึงแพร่ได้เร็วกว่าแก๊สHCl ดังนั้นจึงเกิดของแข็งสีขาว (NH4Cl) ใกล้สำลีที่ชุบสารละลาย HCl
การคำนวณเกี่ยวกับกฎการแพร่ของแก๊สของเกรแฮม

หน่วยของอัตราการแพร่ของแก๊สสามารถบอกได้หลายลักษณะ เช่น
1. ปริมาตรของแก๊สต่อ 1 หน่วยเวลา
2. ระยะทางที่แก๊สเคลื่อนที่ต่อ 1 หน่วยเวลา
3. ความดันของแก๊สที่ลดลงต่อ 1 หน่วยเวลา
4. จำนวนโมลของแก๊สที่ผ่านช่องเล็กๆต่อ 1 หน่วยเวลา
หมายเหตุ 1 หน่วยเวลา เช่น 1 วินาที, 1 นาที, 1 ชั่วโมง (ส่วนใหญ่ใช้ 1 วินาที หรือ 1 นาที)
ตัวอย่างเช่น แก๊สX มีอัตราการแพร่ = 30 cm3 ต่อวินาที
แก๊สY มีอัตราการแพร่ = 15 เซนติเมตรต่อวินาที
แก๊ส Z มีอัตราการแพร่ = 2 โมลต่อนาที

ตัวอย่างที่ 1 แก๊สA มีมวลโมเลกุล 36 แก๊สB มีมวลโมเลกุล 9 ในเวลา 3 วินาที แก๊สA เคลื่อนที่ได้ระยะทาง 24 เซนติเมตร แก๊สB จะเคลื่อนที่ได้ระยะทางเท่าใดในเวลา 5 วินาที
วิธีทำ จากสูตร 

  MA = 36
MB = 9
        RA = 24 ? 3
                                      = 8 เซนติเมตรต่อวินาที
RB = ?
แทนค่าในสูตร
RB = ( 8 ? 6 ) ? 3
= 16 เซนติเมตรต่อวินาที
ดังนั้นในเวลา 5 วินาที แก๊สB จะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง = 16 x 5 = 80 เซนติเมตร

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

กฎรวมแก๊ส

กฎรวมแก๊ส ได้จากการนำเอากฎของบอยล์  กฎของชาร์ล  มารวมกันจะได้  ความสัมพันธ์ของ  P,  V,  T    ดังนี้
กฎของบอยล์  V   ∞    1             เมื่ออุณหภูมิและมวลของแก๊สคงที่
                               P
กฎของชาร์ล  V    ∞    T                เมื่อความดันและมวลของแก๊สคงที่
 ดังนั้น          V    ∞    T
                                P
                  V     =    kT
                                P      
             PV       =      k
              T
  หรือ     P1V1     =     P2V2
              T1               T2          
ตัวอย่างที่ 1  แก๊สชนิดหนึ่งปริมาตร  3  dm3  บรรจุในภาชนะภายใต้ความดัน  740  mmHg 
อุณหภูมิ  80 ํC  ปริมาตรของแก๊สนี้ที่  STP  จะเท่ากับกี่ลูกบาศก์เดซิเมตร

วิธีทำ  จากสูตร           P1V1     =     P2V2
                                T1               T2                       
    740 mmHg X 3 dm3           =     760 mmHg X V2
           273 + 80 K                               273 K
     740 mmHg X 3 dm3          =      760 mmHg X V2
             353 K                                      273 K
                      V2                  =      740 mmHg X 3 dm3 X 273 K
                                                        353 K X 760 mmHg
       
                      V2                  =           2.26     dm3


ตัวอย่างที่  2  แก๊สแอมโมเนียจำนวนหนึ่งวัดปริมาตรได้  10   ลิตร ที่  15 ํC และ  720  ทอรร์
 จงหาปริมาตรของแก๊สนี้ถ้าเพิ่มอุณหภูมิเป็น  27 ํC  และความดันเป็น  780  ทอรร์

วิธีทำ  จากสูตร        P1V1     =       P2V2
                              T1                 T2            
       720 torr X  10 L          =      780 torr X  V2
           273 + 15 K                     273 + 27  K

         720 torr X  10 L        =      780 torr X  V2
               288 K                             300  K
                V2                    =      720 torr X 10 L X 300 K
                                                      288 K X 780 torr         
                                        =           9.62     L
           
 ปริมาตรของแก๊สนี้    =           9.62     ลิตร      

กฏของบอยล์




กฏของบอยล์ ( Boyle's Law )

โรเบิร์ต บอยล์ : Robert Boyle  
กฏของบอยล์ Boyle s Law     
 - เกิดวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1627 ที่เมืองมันสเตอร์ (Munster) ประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) - เสียชีวิต วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)
 - ผลงาน  ตั้งกฎของบอยล์ (Boyle's Law) ว่าด้วยเรื่องความดันอากาศ
 โรเบิร์ต บอยล์เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี เขาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิชาเคมี ด้านฟิสิกส์ก็ได้รับการยกย่องมากจากการค้นพบกฎของบอยล์ (Boyle’s Law) และการประดิษฐ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์อย่างเทอร์มอมิเตอร์ และบารอมิเตอร์ โรเบิร์ต บอยล์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1691 ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร (v) กับความดัน (P) ของแก๊สเมื่ออุณหภูมิคงที่  บอยล์ ได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรกับความดันของแก๊ส โดยควบคุมให้อุณหภูมิคงที่ ได้ผลการทดลองดังตารางต่อไปนี้

การทดลอง
ครั้งที่
 V
(cm3)
P
(cm3)
PV
(mmHg.cm3)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
5.00
10.00
15.00
20.00
25.00
30.00
35.00
40.00
45.00
760
380
253
191
151
127
109
95
84
3.80x1033.80x1033.80x1033.82x1033.78x1033.81x1033.82x1033.80x1033.78x103

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร (V) กับความดัน (P)
ของแก๊สเมื่ออุณหภูมิคงที่

กฏของบอยล์ Boyle s Law
กฏของบอยล์ Boyle s Law

รอเบิร์ต บอยล์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปริมาตร และความดันของแก๊ส ในปี ค.ศ.1662 (พ.ศ.2205) ได้สรุปไว้ว่า



 “เมื่ออุณหภูมิและมวลของแก๊สคงที่ ปริมาตรของแก๊ส จะแปรผกผันกับความดัน”
 ซึ่งเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า
“กฏของบอยล์”

กฎรวมแก๊ส (Combined Gas Law)

กฎรวมแก๊ส (Combined Gas Law)


เมื่อนำกฎของบอยล์ กฎของชาร์ล และกฎของเกย์-ลูแซก มารวมกันเรียกว่า กฎรวมแก๊ส (Combined Gas Law) จะพบว่า ผลคูณ      ของความดันและปริมาตรของแก๊สใดๆ หารด้วยอุณหภูมิ จะได้ค่าคงที่เสมอ

กฎรวมแก๊ส Combined Gas Law

กฎของชาร์ล (Charle's Law)



กฎของชาร์ล (Charle's Law)


กฎของชาร์ล Charle s Law
 ประวัติของชาร์ล
           ชื่อ                : จาก อาเล็กซองดร์ เซซา-ชาร์ล                            (Jacques Alexandre Cesar-Charles)
       เชื้อชาติ           : ชาวฝรั่งเศส
       มีชีวิตในช่วง      : พ.ศ. 2289 - 2366
       ผลงานที่สำคัญ  : ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับปริมาตรของแก๊ส และเสนอ
กฎที่เรียกว่า  “กฎของชาร์ล
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ( T )กับปริมาตร( V ) ของแก๊สเมื่อความดันคงที่
การทดลองครั้งที่
T
(C)
V
(cm3)
V/T
(cm3/C)
1
10
100
10.0
2
50
114
2.3
3
100
132
1.3
4
200
167
0.8

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ( T )กับปริมาตร( V ) ของแก๊สเมื่อความดันคงที่
กฎของชาร์ล Charle s Law
ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส( C )และเคลวิน( K )กับปริมาตรของแก๊ส
การทดลองครั้งที่
T
(C)
T
(K)
V
(cm3)
V/T
(cm3/K)
1
10
283
100
0.35
2
50
323
114
0.35
3
100
373
132
0.35
4
200
473
167
0.35


กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิเคลวิน (K) กับปริมาตรของแก๊ส
กฎของชาร์ล Charle s Law
สรุป  : เมื่อมวลและความดันของแก๊สคงที่ ปริมาตรของแก๊สจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน
V = kT

ปริมาตร อุณหภูมิ และความดัน

ปริมาตร อุณหภูมิ และความดัน
         การวัดปริมาตรของแก๊ส เนื่องจากแก๊สบรรจุในภาชนะใดก็พุ่งกระจายเต็มภาชนะ ดั้งนั้น ปริมาตรของแก๊ส จึงมักหมายถึงปริมาตรของภาชนะที่บรรจุแก๊สนั้น
         หน่วยของปริมาตร หน่วยของปริมาตร ที่นิยมใช้คือ ลูกบาศก์เดซิเมตร (dm3) หรือลิตร (litre) หรือ ลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3) (1 dm3 =1000 cm3)
        อุณหภูมิ (Temperature) เป็นมาตราส่วนที่ใช้บอกระดับความร้อน-เย็นของสาร แต่อุณหภูมิไม่ได้บอกให้ทราบถึงปริมาตรความร้อนของสาร กล่าวคือ สารที่มีอุณหภูมิเท่ากันแสดงว่ามีระดับความร้อนเท่ากันแต่อาจจะมีปริมาตรความร้อนเท่ากันก็ได้ เครื่องมือวัดอุณหภูมิที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือเทอร์โมมิเตอร์
        การวัดอุณหภูมิของแก๊ส การวัดอุณหภูมิมาตราส่วนที่ใช้มีหลายแบบ คือ เซลเซียส
เคลวิน ฟาเรนไฮต์ โรเมอร์และแรงกิน แต่การวัดอุณหภูมิของแก๊สส่วนใหญ่ใช้ มาตราส่วนเคลวิน
(Kelvin Scale) หรือเรียกว่า มาตราส่วนสัมบูรณ์ (Absolute temperature scale) สัญลักษณ์ K และองศาเซลเซียส                   อุณหภูมิเคลวิน และองศาเซลเซียสมีความสัมพันธ์กันดังนี้
       อุณหภูมิเคลวิน = องศาเซลเซียส + 273.15เช่น27 องศาเซลเซียส เท่ากับ 300.15 K หาได้ดังนี้อุณหภูมิเคลวิน = 27 + 273.15 = 300.15 K

หมายเหตุ เพื่อความสะดวกในการคำนวณอาจใช้ 273 (ค่าโดยประมาณ) แทน 273.15 การวัดอุณหภูมิของแก๊สส่วนใหญ่ใช้อุณหภูมิเคลวิน (K) เพราะปริมาตรของแก๊สแปรผันตรงกับอุณหภูมิ                                        

ความดัน (Pressure) หมายถึง แรงที่กระทำต่อหน่วยพื้นที่ ที่ตั้งฉากกับแรงนั้น เนื่องจากความดันของแก๊สเกิดจากโมเลกุลของแก๊สชนผันงภาชนะ เพราะฉะนั้นความดันของแก๊สคือแรงที่โมเลกุลของแก๊สกระทำต่อผนังต่อหนึ่งหน่วนพื้นที่ของภาชนะ และความดันของแก๊สมีค่าเท่ากันหมดไม่ว่าจะวัดที่ส่วนใดของภาชนะ
เครื่องมือวัดความดันของแก๊ส เครื่องมือที่ใช้วัดความดันของแก๊สเรียกว่า มาโนมิเตอร์ (Manometer) ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดปลายปิด
2. ชนิดปลายเปิด

ชนิดปลายปิด และปลายเปิด มีลักษณะดังรูป           


จากรูป ก. เพราะว่าที่ว่างเหนือปรอทเป็นสุญญากาศ
ดังนั้น ความดันของแก๊ส = h มิลลิเมตรปรอท (mmHg)
จากรูป ข. เพราะว่าปลายข้างเปิดมีความดันของบรรยากาศกดบนปรอท
ดังนั้น ความดันของแก๊ส = ความดันของบรรยากาศ + h มิลิเมตรปรอท (mmHg)
เครื่องมือวัดความดันของบรรยากาศ ความดันบรรยากาศ คือความดันของอากาศบนพื้นผิวโลก และความดันของบรรยากาศนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ คือที่พื้นที่ผิวโลกมีความดันมากกว่าในที่สูงๆ เช่น ภูเขา ทั้งนี้เพราะในที่สูงมีอากาศเจือจางกว่า เครื่องมือที่ใช้วัดความดันของบรรยากาศคือ บารอมิเตอร์ (Barometer)

 

จากรูป บารอมิเตอร์อย่างง่ายประกอบด้วยหลอดแก้วยาวประมาณ 80 – 100 cm มีปลายข้างหนึ่งเปิด เดิมปรอทในหลอดแก้วจนเต็ม จากนั้นคว่ำหลอดแก้วในภาชนะที่บรรจุปรอทอยู่แล้ว ความสูงของลำปรอทในหลอดแก้จะลดลง ทำให้เกิดที่ว่างซึ่งเป็นสุญญากาศ เรียกว่า ที่ว่างทอริเซลเลียน(Torricellian Vacuum) ลำปรอทยังคงค้างในหลอดแก้งเนื่องจากความดันบรรยากาศที่กดที่ผิวปรอทในภาชนะ จากรูปลำปรอทสูงเท่ากับ h cm เพราะฉะนั้นความดันของบรรยากาศมีค่าเท่ากับ h cmHg เช่น ในที่ซึ่งมีความสูงเท่ากับระดับน้ำทะเลจะมีความดันเท่ากับ 76 cmHg หรือ 760 cmHg หรือ 1 บรรยากาศ (1 atm)
การวัดความดันของแก๊ส หน่วยที่ใช้วัดความดันได้แก่ บรรยากาศ มิลมิเมตรปรอท นิวตันต่อ ตารางเมตร ปอนด์ต่อตาราง นิ้ว บาร์ ทอร์ สำหรับหน่วยเอสไอ ใช้ปาสคาล (Pascal)
สัญลักษณ์ Pa และหน่วยต่างๆ มีความสัมพันธ์ ดังนี้
1 บรรยากาศ = 760 มิลลิเมตร
= 760 ทอร์ (Torr)
= 14.7 ปอนด์/ตารางนิ้ว (lb/in2)
= 1.01325 x 105 ปาสคาล (Pa)
= 1.01325 x 105 นิวตัน/ตารางเมตร (Nm-2)
= 1.01325 บาร์ (bar)
1 มิลลิเมตรปรอท = 133.3 นิวตัน/ตารางเมตร (Nm-2)
หมายเหตุ การวัดความดันของแก๊สอาจวัดโดยใช้บารอมิเตอร์ก็ได้

อ้างอิงจาก  http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem19/data13.htm

สมบัติของแก๊ส

สมบัติของแก๊ส
       

สมบัติทั่วไปของแก็ส สมบัติทั่วไปของแก็ส ได้แก่
        1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ บรรจุ ในภาชนะใดก็จะมีรูปร่างเป็นปริมาตรตามภาชนะนั้น เช่น ถ้าบรรจุในภาชนะทรงกลมขนาด 1 ลิตร แก๊สจะมีรูปร่างเป็นทรงกลมมีปริมาตร 1 ลิตร เพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค (โมเลกุล หรืออะตอม) น้อยมาก จึงทำให้อนุภาคของแก๊สสามารถเคลื่อนที่หรือแพร่กระจายเต็มภาชนะที่บรรจุ
        2. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล ดังนั้นเมื่อบอกปริมาตรของแก๊สจะต้องบอกอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมลด้วย เช่น แก๊สออกซิเจน 1 โมลมีปริมาตร 22.4 dm3 ที่อุณหภูมิ 0 C ความดัน 1บรรยากาศ (STP)
        3. สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวและของแข็งมาก เช่น ไอน้ำ มีความหนาแน่น 0.0006 g/cm3แต่น้ำมีความแน่นถึง 0.9584 g/cm3 ที่100 C
        4. แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็วเพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
        5. แก็สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วน นั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียว หรือเป็นสารละลาย (Solution)
        6. แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส่เช่นแก๊สออกซิเจน(O2)แก๊สไฮโดเจน(H2) แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)แต่แก๊สบางชนิดมีสี เช่น แก๊สไนโตเจนไดออกไซด์ (NO2) มีสีน้ำตาลแดง แก๊สคลอรีน(CI2) มีสีเขียวแกมเหลือง แก๊สโอโซน (O3) ที่บริสุทธิ์มีสีน้ำเงินแก่ เป็นต้น

                                                            

อ้างอิงจาก  http://www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem19/data13.htm